ปล่อยยุงลายตัวผู้ทำหมันสู่ธรรมชาติ ครั้งแรกในโลก

ปล่อยยุงลายตัวผู้ทำหมันสู่ธรรมชาติ ครั้งแรกในโลก

ไทยและผู้แทนนานาชาติร่วมปล่อยยุงลายตัวผู้ทำหมันสู่ธรรมชาติครั้งแรกในโลก หวังลดการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก ยืนยันไม่กระทบสิ่งแวดล้อม ใช้เวลาติดตามผลอีก 3 เดือนผู้แทนนานาชาติ 15 ประเทศร่วมพิธีปล่อยยุงลายตัวผู้ทำหมันคืนสู่ธรรมชาติในพื้นที่ทดลองนำร่องที่ โรงเรียนบ้านหนองสทิต อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา โดยยุงลายที่นำมาปล่อยได้พัฒนาสายพันธุ์ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยการทำหมันยุง 2 ขั้นตอน คือฉีดเชื้อแบคทีเรีย 2 สายพันธุ์ และฉายรังสีปริมาณอ่อน เมื่อไปผสมพันธุ์กับยุงลายบ้านตัวเมียจะไข่ฝ่อเป็นหมัน ลดจำนวนยุง ซึ่งเป็นพาหะนำโรคหลายชนิด และยืนยันไม่ใช่ยุงตัดต่อพันธุกรรม จึงไม่มีผลกระทบกับคนและสิ่งแวดล้อม พร้อมได้ทำความเข้าใจกับชาวบ้านก่อนปล่อยยุงแล้วสำหรับยุงลายตัวผู้ที่ถูกปล่อยสู่ธรรมชาติจะกินน้ำหวานไม่กินเลือด จะตายใน 2-3 สัปดาห์ ใช้เวลา 3 เดือน เพื่อประเมินผล 

 

Add comment


Security code
Refresh

วันจันทร์ที่ 3 เมษายน2566 เวลา10.00 น แพทย์หญิงทิพวรรณ ไชยประการ (ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแปลงยาว) ร่วมพิธีเปิดการดำเนินงานโครงการชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ปัญหายาเสพติด แบบครบวงจร ตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ 2566 ...
วันพุธที่ 8 มีนาคม 2566 เวลา 08.30 น งานการพยาบาลผู้คลอดโรงพยาบาลแปลงยาว จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด “ ปีงบประมาณ 2566 แบ่งการอบรม3 รุ่น รุ่นละ1วัน ในระหว่างวันที่8-10 มีนาคม 2566 วิทยากร แพทย์หญิงชมพูนุท สิทธิ ...
กลุ่มงานการพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลแปลงยาว จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง 100% เครือข่ายสุขภาพอำเภอแปลงยาว ประจำปีงบประมาณ 2566 ในระหว่างวันที่14-17 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ...